ลักษณะทางกฎหมายของการขายฝาก ที่ควรทำความเข้าใจก่อนใช้บริการรับขายฝากบ้านที่ดิน

อย่างที่ทราบกันดีว่า การขายฝาก เป็นการซื้อ-ขายทางนิติกรรมรูปแบบหนึ่ง ที่จะต้องมีผู้ขายฝาก และผู้ซื้อฝากทำสัญญาร่วมกัน ในตอนนี้มีผู้คนไม่น้อยเลยที่สนใจเลือกทำการขายฝากที่ดินกัน แต่ทั้งนี้หลายคนก็อาจจะยังไม่รู้ว่าการขายฝากนั้นเป็นอย่างไร คืออะไร ในบทความนี้จึงอยากนำเอาลักษณะทางกฎหมายของการขายฝากมาให้ได้ทำความเข้าใจกัน ก่อนที่จะใช้บริการกับทางบริษัทที่รับขายฝากบ้านที่ดิน 

ทำความเข้าใจเรื่องลักษณะทางกฎหมายที่สำคัญของการขายฝาก ก่อนใช้บริการรับขายฝากบ้านที่ดิน 

สำหรับลักษณะทางกฎหมายของการขายฝาก ที่ควรทำความเข้าใจก่อนที่จะใช้บริการกับทางบริษัทที่รับขายฝากบ้านที่ดิน ก็มีดังต่อไปนี้ 

  1. ขายฝากเป็นสัญญาประธาน โดยสิ่งนี้ก็คือ การที่เป็นสัญญาแบบสมบูรณ์ด้วยตัวเอง สามารถอยู่ได้โดด ๆ แบบไม่ต้องประกอบกับสัญญาอื่น ๆ ซึ่งต่างกับการทำสัญญาจำนอง
  1. ดอกเบี้ย ในเรื่องนี้ที่จริงแล้วการทำสัญญาขายฝากไม่มีดอกเบี้ย เนื่องจากว่าไม่ได้เป็นการกู้ยืมเงิน แต่จะเรียกสิ่งนี้ว่า สินไถ่ แทน โดยผู้ขายฝากจะต้องนำเงินมากจ่ายให้กับผู้ซื้อฝาก เพื่อเป็นการไถ่ถอนทรัพย์สินคืนนั่นเอง ตามกฎหมายกำหนดเอาไว้ว่าสินไถ่จะต้องมีราคาที่สูงกว่าราคาขายฝากไปไม่เกินร้อยละ 15% ต่อปี
  1. การชำระเงินคืน ในการชำระเงินคืน จะไม่ได้เป็นการผ่อนเป็นงวด ๆ เหมือนกับเงินกู้ แต่จะเป็นการชำระคืนในงวดเดียวเลยเมื่อถึงเวลาระยะเวลาในการไถ่ถอน ที่ได้กำหนดเอาไว้แล้วในสัญญาขายฝาก 
  1. เจ้าของทรัพย์กับตัวลูกหนี้ โดยการขายฝากนั้น ผู้ขายฝากจะสิทธิ์ในการไถ่ถอนทรัพย์สินของตัวเองคืนได้ นั่นจึงเท่ากับว่าผู้ขายฝากอยู่ในฐานะของลูกหนี้ ทำให้เจ้าของทรัพย์ และลูกหนี้คือบุคคลเดียวกัน
  1. กรรมสิทธิ์ในทรัพย์ เมื่อมีการทำสัญญาขายฝากแล้ว กรรมสิทธิ์ของที่ดินจะถูกโอนไปยังผู้ซื้อฝากทันที แต่จะดีตรงที่ผู้ซื้อฝากสามารถไถ่ถอนคืนได้ในภายหลังนั่นเอง
  1. การบังคับคดี ในส่วนนี้หากว่าผู้ขายฝากมีการผิดนัดไม่มาไถ่ถอนทรัพย์สินคืนตามระยะเวลาที่กำหนด ก็จะทำให้ทรัพย์สินนั้นตกไปเป็นสิทธิ์ขาดของผู้ซื้อฝากทันที และไม่มีโอกาสที่จะสามารถไถ่ถอนคืนได้อีก
  1. ค่าธรรมเนียมจดทะเบียน ด้วยความที่การขายฝากเป็นการซื้อ-ขายอสังหาริมทรัพย์อย่างหนึ่ง จึงทำให้ต้องมีการเสียค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ด้วย ซึ่งมีค่าธรรมเนียมหลัก ๆ ที่ต้องจ่าย คือ ค่าธรรมเนียมราชการร้อยละ 2, ค่าภาษีหัก ณ ที่จ่าย, ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ หรือค่าอากรแสตมป์ ซึ่งค่าใช้จ่ายทั้งหลายนี้ก็จะมีความแตกต่างกันออกไประหว่างบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล

ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ก็เป็นลักษณะทางกฎหมายของการขายฝากในเรื่องต่าง ๆ ที่อยากจะเอามาให้ได้ทำความเข้าใจกันก่อนที่จะใช้บริการกับทางบริษัทที่รับขายฝากบ้านที่ดิน นั่นก็เพื่อให้เข้าใจเกี่ยวกับเรื่องของการขายฝากได้มากยิ่งขึ้น และหากต้องการทำสัญญาจริง ๆ ก็จะได้ไม่โดนเอาเปรียบนั่นเอง